จริงหรือไม่? การกินเห็ด ช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ที่พบบ่อยที่สุดในเพศชาย โดยในปี 2018 ผลวิจัยพบว่า มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นกว่า 1.2 ล้านรายทั่วโลก อีกทั้งเกณฑ์ความเสี่ยงนี้ ยังมีเพิ่มมากขึ้นตามอายุอีกด้วย

จากการสำรวจพบว่า ประเทศในแถบยุโรป มีผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรเพศชายทั้งหมด

โดยนักวิจัยอธิบายว่า มะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดจากเซลล์ในต่อมลูกหมาก ที่เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการผลิตน้ำอสุจิในเพศชาย ที่มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลูกวอลนัท ที่เติบโตเกินการควบคุม

และยังมีผลการวิจัยของญี่ปุ่น ที่ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร โรคมะเร็งนานาชาติ แนะนำว่า การกินเห็ดสัปดาห์ละครั้งหรือ 2 ครั้ง ทำให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำลงกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่กินน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง

และผู้ที่กิน 3 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดลงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ เพราะเหตุนี้ เห็ดจึงได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในทวีปเอเชีย เพราะมีคุณสมบัติเป็นยาและมีคุณค่าทางโภชนาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ shu zhang ผู้เขียนบทวิจัย ของมหาวิทยาลัยสาธารณสุขในญี่ปุ่นกล่าวว่า การศึกษาวิจัยระหว่างเห็ดกับสิ่งมีชีวิต แสดงให้เห็นว่าเห็ดมีศักยภาพในการป้องกันมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม การบริโภคเห็ดกับหลักการในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในมนุษย์ อาจเกิดขึ้นได้อยู่เพราะยังไม่ได้รับการทดลองในมนุษย์มาก่อน

ข้อมูลจาก :https://www.dailymail.co.uk/news/article-7552623/Men-advised-eat-mushrooms-twice-week-slash-risk-prostate-cancer.html

เรียบเรียงโดย: ทีมงานข่าวโซเชี่ยล