เหงื่อใต้วงแขน บ่อเกิด”โรคติดต่อแห่งความกลัว” จริงหรือ?

คุณชอบดูหนังสยองขวัญไหม?

[pinterest-gallery columns=”1″ images=”3181″ adjust=”yes”]

เราเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่า ระหว่างเลือกที่จะดูหนังสยองขวัญคนเดียวกับการที่ดูหยังสยองขวัญกับคนอื่น คิดว่าอันไหนสยองกว่ากัน??

เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้มาจากบทความเรื่องหนึ่ง ในหนังสือเรื่อง อย่าชวนเทอไปดูหนังรักของ ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ เค้าบอกว่าเวลาคนเรากลัวร่างกายเรามักจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง เช่น ดวงตาเบิกโพลง ตัวสั่น เข่าอ่อนจนไม่สามารถทรงตัวได้หรือถ้าหากมีความกลัวมากๆถึงระดับที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตก็อาจไม่สามารถอั้นปัสสาวะและอุจจาระได้ บางคนก็อาจจะมีเหงื่อไหลออกมาเวลาที่เรากลัวสุดขีด เหงื่อดังกล่าวบางคนเรียกกันว่า เหงื่อนกาฬซึ่งเกิดขึ้นต่อเมื่อเรารู้สึกเหมือนใกล้จะตายเท่านั้น

[pinterest-gallery columns=”1″ images=”3186″ adjust=”yes”]

อ้างอิงมาจากงานวิจัยหนึ่ง ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร chemical science ระบุว่านักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งของ Rice University ในสหรัฐอเมริกา ค้นพบว่าเหงื่อเเห่งความตื่นตระหนกนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับคนเราในแง่มุมอื่นๆด้วย นอกเหนือจากความตื่นตระหนกรายบุคคลแล้ว ว่ากันว่าเหงื่อแห่งความกลัวที่ว่านี้เป็นเสมือนโรคติดต่อได้เหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นครั้งแรกของโลก ว่าสารเคมีที่หลั่งออกมาจากร่างกายของคนที่อยู่ในสภาวะความกลัว มีผลให้คนที่อยู่รอบตัวของคนที่หวาดกลัวเกิดความระแวดระวังและมีความตื่นตัวมากขึ้น  และสารพวกนี้ก็ยังพบได้ในสัตว์ต่างๆตั้งแต่ที่มีวิวัฒนาการไม่สูงมากนักอย่าง ดอกไม้ทะเล ไส้เดือนดิน ไปจนถึงสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าอย่างเช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแบบหนูและกวาง ซึ่งเวลาที่พวกสัตว์พวกนี้รับรู้ได้ถึงภัยอันตรายมันก็จะรับรู้ได้ทั้งฝูง จึงเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้ผลการทดลองนี้สามารถยืนยันได้

งานวิจัยชิ้นนี้ยังได้มีการรวบรวมอาสาสมัครทั้งชายและหญิง เป็นผู้ชาย 4 คน และผู้หญิง 3 คนให้อาสามัครเหล่านี้ไปรับชมส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ที่ตัดความยาวมาโดยประมาณ 20 นาทีซึ่งในภาพยนตร์มีทั้งคนที่ได้ดูแบบที่น่ากลัวและไม่น่ากลัวคละกันไป เมื่อชมเสร็จแล้วแต่ละคนต้องอธิบายอารมณ์ในขณะนั้น อาจจะเป็นเศร้า โกรธ หวาดระแวงกระวนกระวายใจหรือกลัว ซึ่งทางทีมงานจะคอยบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจและข้อมูลของร่างกายอื่นๆประกอบไปด้วย ในระหว่างการทดลองอาสาสมัครจะต้องสวมแผ่นผ้าที่แขนหรือใต้วงแขนเพื่อคอยดูดซับสารเคมีต่างๆที่หลั่งออกมาจากร่างกายและจะมีการเก็บแผ่นผ้าคืน เพื่อนำมาวิเคราะห์ในขั้นต่อไปโดยการที่เอาแผ่นผ้าที่ใช้แล้วไปครอบปากและจมูกของอาสาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอาสาอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกครอบปากและจมูก หลังจากนั้นจะต้องให้คะแนนความเข้มของกลิ่นและให้คะแนนความหอมและเหม็นของกลิ่นนั้นด้วย จากนั้นคนกลุ่มนี้จะต้องทำแบบสอบถามเกี่ยวข้องกับการจับคู่คำต่างๆโดยคะแนนที่ได้จะนำกลับมาจับคู่กับกลุ่มของแผ่นผ้าโดยแผ่นผ้าจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มที่มาจากคนที่ดูหนังสยองขวัญ กลุ่มที่ดูภาพยนตร์ที่ไม่สยองขวัญและกลุ่มแผ่นผ้าที่ไม่มีเหงื่ออยู่เลยเพื่อให้เป็นกลุ่มควบคุมการตีความหมายของการทดลองและเป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อกลุ่มที่ได้ผ้าที่มีเหงื่อของความกลัวจะมีความระมัดระวังในการทำแบบสอบถามมากกว่าและทำแบบสอบถามได้ถูกต้องมากกว่าด้วยและยังมีการทำการทดลองคล้ายๆกันอีกหลายๆครั้งโดยการที่เอาแผ่นผ้าไว้ที่ใต้วงแขนของผู้ชายที่ไปกระโดดบันจี้จัมพ์ ซึ่งกลุ่มนี้จะอยู่ในช่วงของคนที่มีภาวะกระวนกระวายใจและก็มีอีกการทดลองหนึ่งคือเอาแผ่นผ้าไว้ใต้วงแขนของคนที่กระโดดร่มเป็นครั้งแรกซึ่งผลก็จะคล้ายๆกัน คือ ผู้ที่ได้สูดดมกลิ่นจากผ้าคนต่อๆไปจะเกิดความกลัว ความหวาดระแวง ความเครียดคล้ายๆกัน แต่แสดงออกต่างกันไป ผลการวิจัยเลยสรุปได้ว่า อารมณ์ความกลัว ความเครียด ความโกรธเหล่านี้ สามารถที่จะถ่ายทอดติดต่อกันได้ผ่านสารเคมีที่ออกมาจากเหงื่อใต้วงแขนของเรา

[pinterest-gallery columns=”1″ images=”3184″ adjust=”yes”]

เมื่อนึกถึงชีวิตประจำวันของเราอย่างเช่น ในที่ทำงาน ในบ้านหรือ ในที่ๆเป็นอาคารปิดมีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก จึงมีสิทธิ์ที่อารมณ์ลบเหล่านี้สามารถถ่ายทอดกันได้และในพื้นที่ปิดแบบนี้ ทำให้คนเราได้รับอารมณ์ด้านลบนั้นไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าเวลาเราเครียดถ้าหากออกไปสูดอากาศข้างนอกดูสักหน่อยจะช่วยให้ความเครียดลดลงได้ จะเชื่อหรือไม่นั้นทางทีมงานข่าวโซเชี่ยลอยากให้ทุกคนลองสักหน่อยอย่างน้อยก็ถือเป็นการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงานกันนะคะ